ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาคณะ

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม ประกาศจัดตั้งเมื่อ พ.ศ.2480ในนามโรงเรียนช่างไม้นครพนม พ.ศ. 2503 เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการช่างนครพนม ผลิตช่างฝีมือในโครงการ สปอ. พ.ศ. 2519 ยกฐานะเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษานครพนม (วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519) และเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเทคนิคนครพนม เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2522 มีเนื้อที่ทั้งหมด 506 ไร่ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร

  • พ.ศ. 2480 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งในนาม “โรงเรียนช่างไม้นครพนม” (น.พ.3) เปิดสอนช่างไม้ระดับชั้นประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้นหลักสูตร 3 ปี โดยรับผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
  • พ.ศ. 2486 เปิดสอนหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนกช่างไม้ปลูกสร้างหลักสูตร 3 ปี โดยรับจากผู้จบ ม.6
  • พ.ศ. 2499 เปิดสอนหลักสูตรประโยคอาชีวศึกษาตอนปลาย แผนกช่างไม้ปลูกสร้างหลักสูตร 3 ปี โดยรับจากผู้จบ ม.6
  • พ.ศ. 2503 เปลี่ยนชื่อจาก “โรงเรียนช่างไม้นครพนม” เป็น “โรงเรียนการช่างนครพนม”เพื่อผลิตช่างฝีมือระดับกลางตามโครงการ ส.ป.อ. เปิดสอน 3

แผนกคือแผนกวิชาช่างก่อสร้าง
แผนกวิชาช่างกลโรงงาน
แผนกวิชาช่างเชื่อมและโลหะแผ่น

  • พ.ศ. 2506 เปิดเพิ่มอีก 1 แผนก คือ แผนกวิชาช่างเครื่องยนต์และดีเซล
  • พ.ศ. 2515 เปิดสอนแผนกวิชาช่างวิทยุและโทรคมนาคม
  • พ.ศ. 2519 ยกฐานะเป็น “วิทยาลัยอาชีวศึกษานครพนม” เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2519 โดยเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาช่างก่อสร้าง
  • พ.ศ. 2521 เปิดสอนแผนกวิชาช่างไฟฟ้า
  • พ.ศ. 2522 ได้เปลี่ยนชื่อจาก “วิทยาลัยอาชีวศึกษานครพนม” เป็น “วิทยาลัยเทคนิคนครพนม” เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2522 เปิดสอนแผนกวิชาคหกรรมศาสตร์, แผนกวิชาพานิชยการ และทำการย้ายสถานที่ไปเปิดสอน ณ สถานที่ตั้งใหม่ อยู่ถนนสายนครพนม-สกลนคร บ.ภูเขาทอง อ.เมือง จ.นครพนม เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาคหกรรมทั่วไป
  • พ.ศ. 2528 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์
  • พ.ศ. 2532 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาช่างไฟฟ้าและแผนกวิชาการตลาด
  • พ.ศ. 2533 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาการบัญชี
  • พ.ศ. 2536 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • พ.ศ. 2539 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) DVT. แผนกวิชาการตลาด สาขาวิชาค้าปลีก
  • พ.ศ. 2540 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) DVT. แผนกวิชาคอมพิวเตอร์, แผนกวิชาเลขานุการและแผนกวิชาคหกรรมธุรกิจ, เปิดสอนระดับประกาศนีย-บัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาเลขานุการและแผนกวิชาการบัญชี (ม.6)
  • พ.ศ. 2541 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) DVT. แผนกวิชาช่างยนต์, เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาช่างยนต์, แผนกวิชาช่างเทคนิคการผลิต, แผนกวิชาการติดตั้งและควบคุม, แผนกวิชาเครื่องเย็นและปรับอากาศ, แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป, แผนกวิชาการก่อสร้าง, แผนกวิชาการตลาดและแผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • พ.ศ. 2542 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) DVT. แผนกวิชาเลขานุการ, เปิดสอนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) DVT. แผนกวิชาช่างยนต์, แผนกวิชาการบัญชี, แผนกวิชาคอมพิวเตอร์,แผนกวิชาคหกรรม สาขาธุรกิจและการโรงแรม
  • พ.ศ.2543 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) DVT. แผนกวิชาการติดตั้งและควบคุม, แผนกวิชาการก่อสร้าง, แผนกวิชาการบัญชี, แผนกวิชาคอมพิวเตอร์, แผนกวิชาคหกรรม ,แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์, แผนกวิชาช่างยนต์ สาขาเครื่องกลการเกษตร, แผนกวิชาช่างเชื่อม, แผนกวิชาช่างไฟฟ้า, และแผนกวิชาการขายและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส. ม.6) แผนกวิชาเทคนิคโลหะ, แผนกวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม และแผนกวิชาคหกรรมธุรกิจ
  • พ.ศ. 2545 เปลี่ยนโครงสร้างเป็นสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2547 เปิดสอนแผนกวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับ ปวช. และ ระดับ ปวส.
  • พ.ศ. 2548 วิทยาลัยเทคนิคนครพนม ได้ยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยนครพนม ตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนครพนม เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2548
  • พ.ศ. 2550 เปิดสอนหลักสูตร ระดับ ปริญญาตรี หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิตสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (อสบ.)
  • พ.ศ.2552 เปิดสอนหลักสูตร ระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์, เปิดสอนหลักสูตร ระดับปริญญาตรี 2 ปี ต่อเนื่อง, สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม
  • พ.ศ.2553 เปิดสอนหลักสูตร ระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและสาขาวิศวกรรมโยธา (ปัจจุบันแยกเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้ว)
  • พ.ศ.2558 เปิดสอนหลักสูตร ระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (ปัจจุบันแยกเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์แล้ว)